- ตีสุ่ม หรือ ตีปลาสุ่ม
- ตีปลาจิบ
- ตีปลาครอก หรือ ตีแม่ครอก
การตีปลาจิบ ก็คือ การเฝ้ามอง จุดๆหนึ่ง ที่ชะโดลอยตัว ขึ้นมาจิบอากาศเหนือผิวน้ำ ก่อนทีจะม้วนตัวดำดิ่ง ลงสู่พื้นล่าง สิ่งที่เกิดจาก การจิบอากาศ คือวงกระเพื่อม เป็นวงกลม ของผิวน้ำ ทำให้ นักตกปลา รับรู้ถึงจุด ที่ปลาอยู่
การตีปลาแม่ครอก ก็คือ การตกปลาแม่และพ่อ ชะโด ที่มันกำลัง เลี้ยงลูกๆ หรือ พาลูกๆ ตัวแดงๆของมัน ออกไปหาอาหาร นั่นแหละครับ
ทีนี้ มาพูดถึง ประเภทเหยื่อ ที่นิยมใช้ ตกปลาชะโดกัน นะครับ
เหยื่อตีชะโด หลักๆแล้ว แบ่งได้ดังนี้
- เหยื่อผิวน้ำ เช่น กบกระโดด เหยื่อใบพัด ป๊อปเปอร์ buzz bait .....
- เหยื่อดำน้ำ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า เหยื่อดำ ซึ่งก็จะแบ่งเป็น ดำตื้น ดำลึก
การตีปลาสุ่ม ด้วยเหยื่อผิวน้ำ เหยื่อผิวน้ำ โดยรวม ความหมายก็คือ เวลาที่เราใช้งานเหยื่อเหล่านี้ มันจะสร้างแอ็คชั่น อยู่บนน้ำครับ (ถ้าเราไม่กรอมันกลับ มันก็อาจจะค่อยๆจมหายไป หรือลอยอยู่ แล้วแต่เหยื่อที่ผลิตออกมา เหยื่อบางเจ้า จะเขียนติดไว้ครับ ว่า เป็น float หรือ sink) การตีเหยื่อสุ่ม มักจะตีเข้าหาหมาย หรือจุดหมาย ที่นักตกปลา คาดคะเนว่า ตรงนั้น ตรงนี้ น่าจะมีปลา ดักรอล่าเหยื่ออยู่ หมายส่วนมากแล้ว จะอยู่ชิด ติดกับ ตอไม้ พงหญ้า ขอบตลิ่ง ซึ่งถือเป็นสวะ ที่พลาดพลั้ง ตีเกินเลย หรือแม้แต่จงใจ ตีเหยื่อล้วงเข้าไป กลางอุปสรรคเหล่านั้น ก็อาจทำให้ ตัวเบ็ดของเหยื่อ เกาะเกี่ยวได้ง่ายๆ เหยื่อที่นิยมใช้กัน จึงเป็นเหยื่อ ประเภท กบกระโดด เหยื่อติดใบพัด หรือ เหยื่อที่มีลักษณะคล้ายๆกัน และมีเพียงตะขอ 2 ทาง อยู่ส่วนท้ายเท่านั้น บางครั้ง นักตกปลา ก็ได้เสริมตัวกันสวะเข้าไป ที่ตัวเบ็ด เพื่อให้ปัญหา ตัวเบ็ดไปเกาะเกี่ยวอุปสรรค ลดน้อยลงไป ข้อดี หลักๆ ของเหยื่อประเภทนี้ ก็คือ โอกาส ติดสวะ หรืออุปสรรค มีน้อย และเวลาที่ปลา ฮุบเหยื่อแล้ว โอกาสได้ปลา ก็มีสูง
การตีปลาจิบ ด้วยเหยื่อดำน้ำ
จริงๆแล้ว การตีปลาจิบ ใช่ว่าจะใช้เหยื่อผิวน้ำไม่ได้นะครับ ใช้ได้เหมือนกัน แล้วแต่สถานที่ หมายถึง บางเขื่อน บางอ่าง ใช้เหยื่อผิวน้ำ ตีปลาจิบ มันไม่ชายตาแลเลย ก็ต้องเป็นงานของเหยื่อดำครับ
ดำตื้น สังเกตได้จาก ลิ้นที่ปากเหยื่อ จะสั้นๆ ดำลึก สังเกตได้จาก ลิ้นที่ปากเหยื่อจะค่อนข้างยาว
เมื่อไหร่ ต้องใช้ ดำลึก เมื่อไหร่ ต้องใช้ดำตื้น ก็ง่ายๆครับ ถ้าน้ำตื้น ก็ใช้ดำตื้น ตัวดำตื้นนี้ ใช้ตีปลาจิบ ใกล้ๆฝั่งได้ครับ ส่วนดำลึก ก็ใช้ตีปลาจิบ บริเวณน้ำลึกครับ
เทคนิค ประกอบการลากเหยื่อ และสร้างแอ็คชั่น ให้กับเหยื่อเบื้องต้น
- กรอกลับทันที เหยื่อกระทบผิวน้ำ แป๊ะ!! กรอกลับอย่างเร็ว ในช่วง 1 วินาทีแรก แล้วผ่อนให้ช้าลงนิดหน่อยหลังจากนั้น ในหลายช่วง หลายจังหวะ การลากเหยื่อ อาจเพิ่มแอ็คชั่นให้กับเหยื่อ โดยการเจิร์คบ้าง Jerk ก็คือ การสบัดปลายคันเบ็ดขึ้นๆลงๆ เพื่อให้เกิดแรงกระชากตรงตัวเหยื่อ ผันแปร ไม่สมำเสมอ
- หยุดเหยื่ออยู่ตรงนั้น แล้วค่อยๆ เจิร์คตวัดปลายคัน ให้หัวเหยื่อคะมำขึ้นๆลงๆ ค่อยๆขยับมาเรื่อยในช่วง 1-3 วินาทีแรก แล้วค่อยกรอกลับ เทคนิคนี้ จะใช้ได้กับพวกเหยื่อที่ไม่จมน้ำครับ
การตีแม่ครอก โดยรวมแล้ว ก็ใช้ทั้ง 2 แบบด้านบนครับ การตีแม่ครอก มีทั้ง 2 รสชาดคละเคล้ากันไป คือ ตูม!! ตั้งแต่ไม้แรกๆ หรือ ยังไม่ถึง 10 ไม้ หรือ ตามตี ตามกดดัน จนคนตีเองท้อ ขอยอมแพ้ ทำไมบางคนจึงพูดว่า ตีแม่ครอก แค่ลากเหยื่อผ่านมันก็กัดแล้ว บางคนบอกไม่จริงหรอก ผมตามตีเป็นครึ่งค่อนวัน มันยังไม่กัดเลย
นี่เป็นเพียงข้อสันนิฐาน จากประสบการณ์ผมนะครับ ไม่มีข้อมูล หลักวิชาการ ใดๆมายืนยัน ผมสันนิฐานว่า
- ตูม !! แน่ตั้งแต่ไม้แรกๆ ถ้า ปลาครอกนั้น เป็นครอกใหม่ๆ เล็กๆ ที่ยังไม่มีใครไปกวนมัน สรุปก็คือ มันยังไม่มีประสบการณ์ การโดนล่า เพราะมันรู้เพียงว่า พวกมันคือผู้ล่า
- ตูม!! เหมือนกัน แต่กว่ามันจะกัดเหยื่อ ก็นานเกือบท้อ แน่นอนว่า ครอกนี้ มันเคยเจอ เคยถูกล่ามาแล้ว อาจจะโดน นักล่าผู้ใจดี ตีเอามันไปถ่ายรูปมาแล้ว แต่หลังจากที่ โดนตี โดนตามกดดันนานๆ ด้วยความที่มัน ต้องปกป้องสิ่งที่มันรัก ไม่ให้ผองภัย ภยันตรายๆ มากล้ำกรายลูกๆของมัน จนมันเกิดความเครียดอย่างมาก สังเกตได้จาก เริมมีการ ขึ้นน้ำขู่ ขึ้นจิบน้ำแรงๆ หลายครั้ง เอาหางฟาดเหยื่อบ้าง จนในที่สุด ความเครียดคงจะกลายเป็น ขาดสติ งับเหยื่อจนได้
ชุดอุปกรณ์ ที่ใช้ ใช้ได้ทั้ง ชุดสปินนิ่ง และ ชุด เบทคาสติ้ง แล้วแต่ความถนัด และทุนเงินในกระเป๋าครับ ผมเริ่ม ตีชะโดด้วยชุด สปินนิ่ง คัน 8 ฟุต 2 ท่อน รอก BG 10 ซึ่งผมมีใช้ ตกปลาเกร็ดอยู่แล้ว เสียเงินเพิ่ม ก็ตรงที่สาย ไดนีม่า เท่านั้นครับ จนวันเวลาผ่านไป ผมจึงได้ซื้อ อุปกรณ์อื่นๆเพิ่มเข้ามา
คันแข็ง คันอ่อน ตกปลาได้ไหมครับ ได้ทั้งนั้นแหละครับ โอกาสปลา ฮุบเหยื่อก็เหมือนกันครับ จะต่างกันที่
ความแม่นยำ และระยะของการส่งเหยื่อ
การเซ็ตฮุค หรือการวัดเบ็ด แน่นอนว่า คันที่แข็งกว่า ย่อมให้แรงกระชาก จากปลายคัน ถึงตัวเบ็ดได้รุนแรงกว่า ส่งผลให้ คันเบ็ดอ่อน โอกาสปลาหลุดมากกว่า เนื่องจาก แรงกระชากเวลา วัดเบ็ด ไม่รุนแรงพอ ที่จะดึงคมเบ็ดให้ฝังลงในผิวเนื้อปลาได้ รวมทั้ง คันแข็ง สามารถงัดบังคับทิศทางปลาได้ดีกว่าคันอ่อน โอกาสที่ ปลาจะมุดลงไปติดกิ่งไม้ ตอไม้ จึงมีน้อยกว่า เพราะเวลาที่เราสู้กับปลาเกมส์เหล่านี้ มันแค่อึดใจเดียวครับ
เทคนิคการ เล็กๆ น้อย แต่มีผล ต่อการได้ตัวครับ
ก่อนตีเหยื่อ เช็คเบรคให้แน่ใจ ว่าปิดเบรคแน่นพอรึยัง
เวลาปลาเข้าชาร์ทเหยื่อ บอกกับตัวเองไว้เลยว่า ตูม! ก็จะไม่สดุ้ง ท่องไว้เลยครับ ตูม... ตึง.... ตวัด....
ถ้าปลาชาร์ทเหยื่อ ตูม แต่เราไม่รับรู้ถึงอาการตึง ที่แขน ก็คือ มันชาร์ทพลาด ให้เจิร์คเหยื่อเบาๆ เหมือนกับ เหยื่อกระโดดหนี มันจะตาม ชาร์ทอีก ตูม! ถ้ารับรู้ว่า ตึงที่มือ ให้ตวัดทันที หมุนให้ไว สายตึงอีกครั้ง วัดสวนให้ดังฉึกๆ ถ้าถึงขนาด ลากเบรคออก ปรื๊ดๆ หาโอกาส เซ็ตฮุคอีกที เอาให้อุ่นใจ ในวินาทีนั้น หมุนให้ไว งัดปลาให้ขึ้นสู่ผิวน้ำให้ได้ แต่อย่างัดให้หัวปลา โผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาเด็ดขาด โอกาสที่ปลาจะสะบัดหลุดมีสูง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก numaer.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น